- Home
- That's why I love you FUKUOKA~...
- That's why I love you FUKUOKA~...
That's why I love you FUKUOKA~หลายเรื่องน่ารักจากฟุกุโอะกะ~#29 พิพิธภัณฑ์สุขภัณฑ์(7/8)
ชั้นสองของพิพิธภัณฑ์เป็นนิทรรศการเซรามิก
โตโตะไม่ได้ทำแต่สุขภัณฑ์เท่านั้น ยังทำงานเซรามิกด้วย
ปี 1917 โตโตะเปิดตัวบริษัทด้วยธุรกิจสุขภัณฑ์
ปี 1918 โตโตะก็หันมาทำงานเซรามิก ปี 1929 ก็ขยับมาสู่ถ้วยกาแฟ
แล้วก็ทำงานเซรามิกอีกมากมาย
ไม่ต้องตกใจไป โตโตะไม่ได้ขายจานกินข้าวด้วยยี่ห้อเดียวกับชักโครก
เขาตั้งแบรนด์ใหม่โดยใช้ชื่อว่า KOKURA CHINA (CHINA หมายถึงเครื่องกระเบื้อง)
โตโตะไม่ได้ทำแต่สุขภัณฑ์เท่านั้น ยังทำงานเซรามิกด้วย
ปี 1917 โตโตะเปิดตัวบริษัทด้วยธุรกิจสุขภัณฑ์
ปี 1918 โตโตะก็หันมาทำงานเซรามิก ปี 1929 ก็ขยับมาสู่ถ้วยกาแฟ
แล้วก็ทำงานเซรามิกอีกมากมาย
ไม่ต้องตกใจไป โตโตะไม่ได้ขายจานกินข้าวด้วยยี่ห้อเดียวกับชักโครก
เขาตั้งแบรนด์ใหม่โดยใช้ชื่อว่า KOKURA CHINA (CHINA หมายถึงเครื่องกระเบื้อง)

©eeny meeny miny mo

©eeny meeny miny mo
ขอแวะเข้าห้องน้ำสักครู่
ในเมื่อพิพิธภัณฑ์แห่งนี้โชว์สุขภัณฑ์ทั้งแต่รุ่นเก่าสุดจนถึงรุ่นที่ล้ำที่สุด
ก็น่าสนใจว่าเขาจะใช้สุขภัณฑ์รุ่นไหนในห้องน้ำ
ถ้าเป็นห้องน้ำของพิพิธภัณฑ์ ที่นี่เลือกใช้ชักโครกรุ่นล่าสุด
มันไฮเทคจนผมคิดว่ามันน่าจะเป็นหุ่นยนต์มากกว่าชักโครก
พอเราเปิดประตูส้วม ชักโครกไฮเทคอันนี้จะกระพริบไฟใส่ ราวกับมันมีชีวิต
จากนั้นฝาชักโครกก็จะเปิดขึ้น ทุกอย่างทำงานด้วยระบบเซนเซอร์
ตรงผนังด้านข้างก็มีปุ่มมากมาย อาทิ ปุ่มเปิดเพลงกลบเสียงเงียบฉี่
เปิดเสียงที่ไม่ใช่เพลงเช่นเสียงนกร้อง และปุ่มอีกเพียบที่ผมก็ไม่รู้ว่าใช้ทำอะไร
ชักโครกรุ่นนี้ขึ้นชื่อเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพราะมันใช้น้ำน้อยที่สุดตั้งแต่เปิดบริษัทมาเลยทีเดียว
ชักโครกของโตโตะยุคปี 1976 ใช้น้ำชำระล้างครั้งละ 20 ลิตร
แต่รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ใช้น้ำเพียง 4.8 ลิตรเท่านั้น
ฟังข้อมูลนี้แล้วผมก็เผลอเชื่อว่านี่คือส้วมสุดกรีน
แต่พอมาคิดดีๆ ผมว่า ไม่น่าใช่
ถึงมันจะใช้น้ำน้อยมาก แต่มันใช้พลังงานมหาศาล
ขนาดเปิดฝาชักโครกยังต้องใช้ไฟฟ้า
จะว่าไป ชักโครกรุ่นที่ยิ่งธรรมดา ยิ่งน่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างชักโครกที่มีที่ฉีดก้นในตัว ใช้ทั้งน้ำใช้ทั้งไฟ
แต่ชักโครกบ้านเราที่มีสายฉีดก้นต่างหาก ไม่ใช้พลังงานแต่อย่างใด
น่าสงสัยว่า ทำไมส้วมญี่ปุ่นถึงไม่มีที่ไหนใช้สายฉีดก้นเลย
ส่วนส้วมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุด
ผมว่าไม่ใช่รุ่นใหม่ล่าสุด แต่เป็นรุ่นเก่าแรกสุด
ส้วมยุคนั้น น้ำก็ไม่ต้องใช้ พลังงานก็ไม่ต้องใช้
จะไม่อีโค่ได้อย่างไร
ในเมื่อพิพิธภัณฑ์แห่งนี้โชว์สุขภัณฑ์ทั้งแต่รุ่นเก่าสุดจนถึงรุ่นที่ล้ำที่สุด
ก็น่าสนใจว่าเขาจะใช้สุขภัณฑ์รุ่นไหนในห้องน้ำ
ถ้าเป็นห้องน้ำของพิพิธภัณฑ์ ที่นี่เลือกใช้ชักโครกรุ่นล่าสุด
มันไฮเทคจนผมคิดว่ามันน่าจะเป็นหุ่นยนต์มากกว่าชักโครก
พอเราเปิดประตูส้วม ชักโครกไฮเทคอันนี้จะกระพริบไฟใส่ ราวกับมันมีชีวิต
จากนั้นฝาชักโครกก็จะเปิดขึ้น ทุกอย่างทำงานด้วยระบบเซนเซอร์
ตรงผนังด้านข้างก็มีปุ่มมากมาย อาทิ ปุ่มเปิดเพลงกลบเสียงเงียบฉี่
เปิดเสียงที่ไม่ใช่เพลงเช่นเสียงนกร้อง และปุ่มอีกเพียบที่ผมก็ไม่รู้ว่าใช้ทำอะไร
ชักโครกรุ่นนี้ขึ้นชื่อเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพราะมันใช้น้ำน้อยที่สุดตั้งแต่เปิดบริษัทมาเลยทีเดียว
ชักโครกของโตโตะยุคปี 1976 ใช้น้ำชำระล้างครั้งละ 20 ลิตร
แต่รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ใช้น้ำเพียง 4.8 ลิตรเท่านั้น
ฟังข้อมูลนี้แล้วผมก็เผลอเชื่อว่านี่คือส้วมสุดกรีน
แต่พอมาคิดดีๆ ผมว่า ไม่น่าใช่
ถึงมันจะใช้น้ำน้อยมาก แต่มันใช้พลังงานมหาศาล
ขนาดเปิดฝาชักโครกยังต้องใช้ไฟฟ้า
จะว่าไป ชักโครกรุ่นที่ยิ่งธรรมดา ยิ่งน่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อย่างชักโครกที่มีที่ฉีดก้นในตัว ใช้ทั้งน้ำใช้ทั้งไฟ
แต่ชักโครกบ้านเราที่มีสายฉีดก้นต่างหาก ไม่ใช้พลังงานแต่อย่างใด
น่าสงสัยว่า ทำไมส้วมญี่ปุ่นถึงไม่มีที่ไหนใช้สายฉีดก้นเลย
ส่วนส้วมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุด
ผมว่าไม่ใช่รุ่นใหม่ล่าสุด แต่เป็นรุ่นเก่าแรกสุด
ส้วมยุคนั้น น้ำก็ไม่ต้องใช้ พลังงานก็ไม่ต้องใช้
จะไม่อีโค่ได้อย่างไร
WHAT’S NEW
EDITORS' PICKS
PRESENTS
asianbeat's present campaign!
- ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง คุณ Aoyama Yoshino, คุณ Suzushiro Sayumi สำหรับ 2 ท่าน
- ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง Okasaki Miho คุณ Kumada Akane และคุณMindaRyn สำหรับ 2 ท่าน
- ◆Winner announced! ลุ้นรับของรางวัลจาก "เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ว Scarlet Bond เวอร์ชั่นภาพยนตร์" สำหรับ 3 ท่าน