- Home
- That's why I love you FUKUOKA~...
- That's why I love you FUKUOKA~...
That's why I love you FUKUOKA~หลายเรื่องน่ารักจากฟุกุโอะกะ~#05 แสงไฟในร้านอาหาร
#05 แสงไฟในร้านอาหาร

©eeny meeny miny mo
จิโร่ เอ็นโดะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่นผู้ข้ามมาทำงานสร้างสรรค์มากมายในเมืองไทยบอกผมว่า
เขาชอบ ตลาดโต้รุ่ง
เหตุผลของเขาน่าสนใจ เขาว่า อาหารหรือรูปแบบร้านก็แปลกดี
แต่ที่เวรี่ไทยที่สุดคือ การจัดแสง
เขาว่าแสงไฟสีเหลืองจากหลอดไฟกลมนั้นมันแสนจะเมืองไทย
มื่อผมได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาที่ญี่ปุ่น ผมก็อยากจะบอกเขาว่า
ผมก็ชอบแสงไฟที่มาจากแผงขายอาหารโต้รุ่งของชาวอาทิตย์อุทัย
มันแสนจะเจแปนเช่นกัน
เขาชอบ ตลาดโต้รุ่ง
เหตุผลของเขาน่าสนใจ เขาว่า อาหารหรือรูปแบบร้านก็แปลกดี
แต่ที่เวรี่ไทยที่สุดคือ การจัดแสง
เขาว่าแสงไฟสีเหลืองจากหลอดไฟกลมนั้นมันแสนจะเมืองไทย
มื่อผมได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาที่ญี่ปุ่น ผมก็อยากจะบอกเขาว่า
ผมก็ชอบแสงไฟที่มาจากแผงขายอาหารโต้รุ่งของชาวอาทิตย์อุทัย
มันแสนจะเจแปนเช่นกัน

©eeny meeny miny mo
ผมเห็นแผงขายอาหารข้างทางอย่างที่เรียกว่า ยะไต ครั้งแรกที่โตเกียว
ผมดีใจในระดับเกือบเท่าได้เจอชิซูกะตัวเป็นๆ
ด้วยความที่ผูกพันกับการ์ตูนญี่ปุ่น และหนังญี่ปุ่นมาแต่อ้อนแต่ออก
เลยคุ้นเคยกับฉากที่ตัวละครก้มหัวลอดใต้ป้ายผ้า เข้าไปนั่งสั่งอาหารในยะไต
เนื่องจากเมืองไทยไม่มีแบบนั้น เลยจำฝังใจมาว่า นี่คือร้านอาหารแบบญี่ปุ่น
พอเดินผ่านครั้งแรก ผมเลยถึงกับสะดุดหยุดกึก
อะไรมันจะสวยสดงดงามขนาดนั้น
ยะไตเป็นแผงขายอาหาร อารมณ์ตลาดโต้รุ่ง คล้ายๆ ร้านชายสี่หมี่เกี๊ยว
ตกเย็นก็เข็นร้านมาตั้ง วางเก้าอี้ขายบนทางเท้า
แล้วก็ไม่รู้ทำไม ยะไตเกือบทุกร้านมักอยู่ในโซนที่ไม่สว่างมาก
คือมีแสงไฟจากถนน แต่ก็ไม่ได้ส่องสว่างเพียงพอสำหรับการคีบอาหารเข้าปาก
ไม่เหมือนร้านชายสี่หมี่เกี๊ยวที่ตั้งแผงอยู่หน้าเซเว่นอีเลฟเว่น
ยะไตเลยต้องติดไฟในร้าน และห้อยไฟออกมานอกร้าน
ส่วนใหญ่เป็นไฟสีเหลือง
เมื่อเปิดไฟ ยะไตก็สว่างขึ้นกลางความมืด
ป้ายผ้าหน้าร้านที่เป็นชื่อร้าน เมื่อโดนแสงไฟจากข้างใน
ดูคล้ายตู้ไฟ ที่ประกาศให้ผู้คนที่ผ่านไปมาทราบว่า ร้านนี้ชื่อเรียงเสียงไร
ผมชอบแสงไฟของร้านยะไต ผมว่ามันจริงใจดี
ผมดีใจในระดับเกือบเท่าได้เจอชิซูกะตัวเป็นๆ
ด้วยความที่ผูกพันกับการ์ตูนญี่ปุ่น และหนังญี่ปุ่นมาแต่อ้อนแต่ออก
เลยคุ้นเคยกับฉากที่ตัวละครก้มหัวลอดใต้ป้ายผ้า เข้าไปนั่งสั่งอาหารในยะไต
เนื่องจากเมืองไทยไม่มีแบบนั้น เลยจำฝังใจมาว่า นี่คือร้านอาหารแบบญี่ปุ่น
พอเดินผ่านครั้งแรก ผมเลยถึงกับสะดุดหยุดกึก
อะไรมันจะสวยสดงดงามขนาดนั้น
ยะไตเป็นแผงขายอาหาร อารมณ์ตลาดโต้รุ่ง คล้ายๆ ร้านชายสี่หมี่เกี๊ยว
ตกเย็นก็เข็นร้านมาตั้ง วางเก้าอี้ขายบนทางเท้า
แล้วก็ไม่รู้ทำไม ยะไตเกือบทุกร้านมักอยู่ในโซนที่ไม่สว่างมาก
คือมีแสงไฟจากถนน แต่ก็ไม่ได้ส่องสว่างเพียงพอสำหรับการคีบอาหารเข้าปาก
ไม่เหมือนร้านชายสี่หมี่เกี๊ยวที่ตั้งแผงอยู่หน้าเซเว่นอีเลฟเว่น
ยะไตเลยต้องติดไฟในร้าน และห้อยไฟออกมานอกร้าน
ส่วนใหญ่เป็นไฟสีเหลือง
เมื่อเปิดไฟ ยะไตก็สว่างขึ้นกลางความมืด
ป้ายผ้าหน้าร้านที่เป็นชื่อร้าน เมื่อโดนแสงไฟจากข้างใน
ดูคล้ายตู้ไฟ ที่ประกาศให้ผู้คนที่ผ่านไปมาทราบว่า ร้านนี้ชื่อเรียงเสียงไร
ผมชอบแสงไฟของร้านยะไต ผมว่ามันจริงใจดี

©eeny meeny miny mo
ที่โตเกียว ยะไตถือเป็นอาหารข้างทางเกรดต่ำที่คนไม่ค่อยเหลียวแล
แต่ที่ฟุกุโอะกะ มันคือหนึ่งในเอกลักษณ์ระดับสัญลักษณ์ของเมือง
ยะไตกว่า 160 ร้านกระจายกันอยู่เป็นหย่อมๆ ทั่วเมือง
ทุกแห่งมีคาแรกเตอร์แบบเดียวกันคือ ตั้งแผงขายบนทางเท้า
ในช่วงเวลาประมาณ 6 โมงเย็นถึงดึกดื่น
มีทั้งขายบนทางเท้าริมแม่น้ำ ทางเท้าริมถนนใหญ่ และทางเท้าริมย่านที่อยู่อาศัย
แต่ละร้านขายอาหารที่ต่างกันไป แต่ก็วนเวียนอยู่กับเมนูพวก
ไก่ย่าง (ยากิโทริ) โอเด้ง เทมปุระ ฮะคะตะราเม็ง และเหล้า
ใช้บริการได้ทั้งแบบรีบกินรีบไป และนั่งกินกันไปคุยกันไป
ทีแรกผมคิดว่ามันคงคล้ายแผงอาหารร้านโต้รุ่งบ้านเรา
แต่พอเข้าไปนั่งก็สัมผัสได้ถึงความต่าง
ถึงจะเป็นแผงลอยแต่ก็ให้ความรู้สึกของการเป็น ‘ร้าน’ ได้เต็มเปี่ยม
ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะการมุดตัวเข้าไปนั่งกินในป้ายผ้า
ทำให้เรารู้สึกถึงอาณาเขตของร้าน
ตามฝาร้านมีรูปถ่าย นามบัตร ข้อความ ติดไว้
แสดงถึงการผ่านวันเวลา และความผูกพันกับลูกค้า
คล้ายกับคำว่า ‘เจ้าเก่า’ ในป้ายชื่อร้าน
ถ้าคำว่าเจ้าเก่า เป็นการรับประกันความอร่อย
ผมไม่แปลกใจเลยว่าทำไมยะไตในฟุกุโอะกะถึงได้รับความนิยม
เขาเริ่มต้นขายกันมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
อยู่เป็นส่วนหนึ่งของปากท้องชาวฟุกุโอะกะมาเนิ่นนานขนาดนั้น
อยู่จนเป็นรากเหง้าของเมืองมาขนาดนั้น
ถ้าไม่เชื่อถือในฝีมือก็เกินไปหน่อย
แต่ที่ฟุกุโอะกะ มันคือหนึ่งในเอกลักษณ์ระดับสัญลักษณ์ของเมือง
ยะไตกว่า 160 ร้านกระจายกันอยู่เป็นหย่อมๆ ทั่วเมือง
ทุกแห่งมีคาแรกเตอร์แบบเดียวกันคือ ตั้งแผงขายบนทางเท้า
ในช่วงเวลาประมาณ 6 โมงเย็นถึงดึกดื่น
มีทั้งขายบนทางเท้าริมแม่น้ำ ทางเท้าริมถนนใหญ่ และทางเท้าริมย่านที่อยู่อาศัย
แต่ละร้านขายอาหารที่ต่างกันไป แต่ก็วนเวียนอยู่กับเมนูพวก
ไก่ย่าง (ยากิโทริ) โอเด้ง เทมปุระ ฮะคะตะราเม็ง และเหล้า
ใช้บริการได้ทั้งแบบรีบกินรีบไป และนั่งกินกันไปคุยกันไป
ทีแรกผมคิดว่ามันคงคล้ายแผงอาหารร้านโต้รุ่งบ้านเรา
แต่พอเข้าไปนั่งก็สัมผัสได้ถึงความต่าง
ถึงจะเป็นแผงลอยแต่ก็ให้ความรู้สึกของการเป็น ‘ร้าน’ ได้เต็มเปี่ยม
ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะการมุดตัวเข้าไปนั่งกินในป้ายผ้า
ทำให้เรารู้สึกถึงอาณาเขตของร้าน
ตามฝาร้านมีรูปถ่าย นามบัตร ข้อความ ติดไว้
แสดงถึงการผ่านวันเวลา และความผูกพันกับลูกค้า
คล้ายกับคำว่า ‘เจ้าเก่า’ ในป้ายชื่อร้าน
ถ้าคำว่าเจ้าเก่า เป็นการรับประกันความอร่อย
ผมไม่แปลกใจเลยว่าทำไมยะไตในฟุกุโอะกะถึงได้รับความนิยม
เขาเริ่มต้นขายกันมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
อยู่เป็นส่วนหนึ่งของปากท้องชาวฟุกุโอะกะมาเนิ่นนานขนาดนั้น
อยู่จนเป็นรากเหง้าของเมืองมาขนาดนั้น
ถ้าไม่เชื่อถือในฝีมือก็เกินไปหน่อย

©eeny meeny miny mo
แม้ว่ายะไตในโตเกียวจะอยู่อย่างไร้เกียรติ
แต่ที่นี่ ผู้ประกอบการยะไตกลับอยู่กันอย่างกับกลุ่มศิลปินพื้นเมือง
ฟุกุโอะกะโปรโมทยะไตเสียใหญ่โตว่าเป็นเอกลักษณ์ของเมือง
นักท่องเที่ยวควรได้มาชมและชิม
ถ้าเมืองไทยโปรโมทให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมากินอาหารในตลาดโต้รุ่งบ้างคงน่ารักดี
ผู้ประกอบการยะไตมีการรวมกลุ่มกัน แล้วทำการตลาดร่วมกับโรงแรม
ถ้าพักโรงแรมที่ร่วมโครงการ เราจะได้รับคูปองอาหารเย็นที่ยะไตฟรี
แต่คูปองนี้สามารถใช้ได้กับร้านยะไต ในกลุ่มที่ร่วมโครงการเท่านั้น
แม้คูปองใบนั้นจะมีราคาแค่ไม่กี่เยน แต่ก็ทำให้อาหารมื้อนี้มีค่าขึ้นมาโข
ผมลองถามตัวเองว่า ทำไมถึงรู้สึกว่า ยะไตมันแสนจะญี่ปุ่น
ทั้งๆ ที่มันก็เหมือนร้านรถเข็นในตลาดโต้รุ่งบ้านเรา
เมื่อตัดประเภทของอาหารไปแล้ว ผมพบว่า
มันเป็นเรื่องของพื้นที่
ในยะไตเป็นที่นั่งยาวล้อมรอบโต๊ะของคนขาย
ไออุ่นจากหม้อช่วยให้หายหนาว
ลูกค้าเลยพอใจจะกระชับวงเข้ามานั่งล้อมคนขาย
และยินดีที่จะนั่งชิดติดกับคนแปลกหน้า
ในความรู้สึกของผม อาหารญี่ปุ่นต่างจากอาหารไทยตรงที่
อาหารญี่ปุ่นเป็นแบบชุดใครชุดมัน ต่างคนต่างกิน
ไม่ค่อยมีอาหารจานกลางไว้แชร์กัน
เหมือนอาหารตะวันตก
คนญี่ปุ่นเลยนั่งกินอาหารของใครของมัน แต่ยินดีแชร์โต๊ะกับคนอื่น
นั่งศอกติดกันได้ไม่มีปัญหา
(ร้านแมคโดนัลด์ในโตเกียวมีพื้นที่ให้ลูกค้า 1 คน กว้างแค่ 50 เซนติเมตรเท่านั้น)
แต่อาหารไทยนั้นตรงข้าม เรากินอาหารจานกลางร่วมกับเพื่อนพ้อง
ยิ่งแบ่งกันเยอะยิ่งสัมผัสได้ถึงมิตรภาพ
แต่ไม่ค่อยสบายใจถ้าต้องแชร์โต๊ะกับคนไม่รู้จัก
แต่ที่นี่ ผู้ประกอบการยะไตกลับอยู่กันอย่างกับกลุ่มศิลปินพื้นเมือง
ฟุกุโอะกะโปรโมทยะไตเสียใหญ่โตว่าเป็นเอกลักษณ์ของเมือง
นักท่องเที่ยวควรได้มาชมและชิม
ถ้าเมืองไทยโปรโมทให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมากินอาหารในตลาดโต้รุ่งบ้างคงน่ารักดี
ผู้ประกอบการยะไตมีการรวมกลุ่มกัน แล้วทำการตลาดร่วมกับโรงแรม
ถ้าพักโรงแรมที่ร่วมโครงการ เราจะได้รับคูปองอาหารเย็นที่ยะไตฟรี
แต่คูปองนี้สามารถใช้ได้กับร้านยะไต ในกลุ่มที่ร่วมโครงการเท่านั้น
แม้คูปองใบนั้นจะมีราคาแค่ไม่กี่เยน แต่ก็ทำให้อาหารมื้อนี้มีค่าขึ้นมาโข
ผมลองถามตัวเองว่า ทำไมถึงรู้สึกว่า ยะไตมันแสนจะญี่ปุ่น
ทั้งๆ ที่มันก็เหมือนร้านรถเข็นในตลาดโต้รุ่งบ้านเรา
เมื่อตัดประเภทของอาหารไปแล้ว ผมพบว่า
มันเป็นเรื่องของพื้นที่
ในยะไตเป็นที่นั่งยาวล้อมรอบโต๊ะของคนขาย
ไออุ่นจากหม้อช่วยให้หายหนาว
ลูกค้าเลยพอใจจะกระชับวงเข้ามานั่งล้อมคนขาย
และยินดีที่จะนั่งชิดติดกับคนแปลกหน้า
ในความรู้สึกของผม อาหารญี่ปุ่นต่างจากอาหารไทยตรงที่
อาหารญี่ปุ่นเป็นแบบชุดใครชุดมัน ต่างคนต่างกิน
ไม่ค่อยมีอาหารจานกลางไว้แชร์กัน
เหมือนอาหารตะวันตก
คนญี่ปุ่นเลยนั่งกินอาหารของใครของมัน แต่ยินดีแชร์โต๊ะกับคนอื่น
นั่งศอกติดกันได้ไม่มีปัญหา
(ร้านแมคโดนัลด์ในโตเกียวมีพื้นที่ให้ลูกค้า 1 คน กว้างแค่ 50 เซนติเมตรเท่านั้น)
แต่อาหารไทยนั้นตรงข้าม เรากินอาหารจานกลางร่วมกับเพื่อนพ้อง
ยิ่งแบ่งกันเยอะยิ่งสัมผัสได้ถึงมิตรภาพ
แต่ไม่ค่อยสบายใจถ้าต้องแชร์โต๊ะกับคนไม่รู้จัก

©eeny meeny miny mo
แสงไฟที่ส่องสว่างอยู่ใยะไต ไม่ได้ส่องใส่แค่อาหาร
แต่ยังเปล่งแสงให้เราเห็นอะไรบางอย่างที่ผมไม่แน่ใจว่า ควรเรียกว่าอะไร
ผมขอเรียกมันว่า ความเป็นญี่ปุ่น
แสงไฟในยะไตเลยสวยเสมอในสายตาผม
แต่ยังเปล่งแสงให้เราเห็นอะไรบางอย่างที่ผมไม่แน่ใจว่า ควรเรียกว่าอะไร
ผมขอเรียกมันว่า ความเป็นญี่ปุ่น
แสงไฟในยะไตเลยสวยเสมอในสายตาผม

©eeny meeny miny mo
ทรงกลด บางยี่ขัน

Zcongklod Bangyikhan profile
Editor-in-chief of "a day" magazine, writer, environmentalist and traveler. Not only communicate through text and paper, but he also does many activities with his readers to communicate environmental issue by using travel as media. His network names ‘lonely trees’www.lonelytrees.net
WHAT’S NEW
EDITORS' PICKS
PRESENTS
asianbeat's present campaign!
- ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง คุณ Aoyama Yoshino, คุณ Suzushiro Sayumi สำหรับ 2 ท่าน
- ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง Okasaki Miho คุณ Kumada Akane และคุณMindaRyn สำหรับ 2 ท่าน
- ◆Winner announced! ลุ้นรับของรางวัลจาก "เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ว Scarlet Bond เวอร์ชั่นภาพยนตร์" สำหรับ 3 ท่าน