- Home
- คอลัมน์พิเศษ
- ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เมื่อเดิน...
- "เส้นราเมน" รู้ไว้ไม่เสียหายก่...
"เส้นราเมน" รู้ไว้ไม่เสียหายก่อนไปฟุกุโอกะ

"เส้นราเมง" รู้ไว้ไม่เสียหายก่อนไปฟุกุโอกะ
เมื่อนึกถึงอาหารญี่ปุ่น แน่นอนว่าหลายคนคงจะนึกถึง“ราเมง”เป็นแน่แท้ ราเมงของแต่ละพื้นที่ในญี่ปุ่นนั้นก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรสชาติหรือรูปแบบการจัดวางต่างๆ เป็นต้น เอกลักษณ์ราเมงของฮากาตะ(คิวชู)คือ ความเข้มข้นของน้ำซุปต้มกระดูกหมูที่มีสีขาวคล้ายสีของนม (豚骨スープ)
จุดหนึ่งที่น่าสนใจถ้าเกิดมีโอกาสได้ไปฟุกุโอกะและลองสั่งราเมงสักชามหนึ่งกิน นั่นก็คือ สามารถเลือกระดับความแข็งของเส้นราเมงได้ตามความต้องการของเรา แต่ปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่ที่ฟุกุโอกะเท่านั้น ร้านราเมงหลายๆร้านในพื้นที่อื่นๆของประเทศญี่ปุ่นก็สามารถเลือกระดับความแข็งของเส้นราเมงได้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้วร้านราเมงในฟุกุโอกะจะมี 6 ระดับให้เลือก (อาจมีน้อยกว่าหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับร้าน) ซึ่งจะแบ่งได้ตามนี้ครับ
จุดหนึ่งที่น่าสนใจถ้าเกิดมีโอกาสได้ไปฟุกุโอกะและลองสั่งราเมงสักชามหนึ่งกิน นั่นก็คือ สามารถเลือกระดับความแข็งของเส้นราเมงได้ตามความต้องการของเรา แต่ปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่ที่ฟุกุโอกะเท่านั้น ร้านราเมงหลายๆร้านในพื้นที่อื่นๆของประเทศญี่ปุ่นก็สามารถเลือกระดับความแข็งของเส้นราเมงได้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้วร้านราเมงในฟุกุโอกะจะมี 6 ระดับให้เลือก (อาจมีน้อยกว่าหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับร้าน) ซึ่งจะแบ่งได้ตามนี้ครับ

1. แข็งพิเศษมาก เรียกว่า "โคะนะ โอะโตะชิ" 「コナオトシ」หรือแปลในภาษาไทยว่า แค่สะบัดแป้งออก ใช้เวลาในการลวกเส้นแค่ 3 วินาที
2. แข็งพิเศษ เรียกว่า "ฮะริ กะเนะ"「ハリガネ」 ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "เส้นลวด" เป็นการเปรียบเทียบความแข็งแบบกรุบเล็กน้อยกำลังพอดี ใช้เวลาลวกที่ 5 วินาที
3. แข็งมาก เรียกว่า "บะริ คะตะ"「バリカタ」 แปลได้ตรงๆตัวเลยว่า "แข็งมาก" คำว่า "บะริ"ในภาษาฟุกุโอกะนั้นแปลว่า "มาก" ส่วน "คะตะ"แปลว่าแข็งนั้นเอง โดยใช้เวลาในการลวกอยู่ที่ 10 วินาที
4. แข็ง เรียกว่า "คะตะ"「カタ」 ใช้เวลาลวก 15-30 วินาที
5. เส้นธรรมดา "ฟุซือ" 「フツウ」ลวก 30-50 วินาที
6. เส้นนิ่ม เรียกว่า "ยะวะ" 「ヤワ」ลวก 60-90 วินาที
นอกจากนี้ยังสามารถเลือกความเข้มข้นของน้ำซุป ตลอดจนสีของต้นหอมที่ใช้โรยว่าจะเอาส่วนที่เป็นสีเขียว สีขาว หรือผสมกันได้อีกด้วย ดังนั้นเราสามารถกำหนดรูปแบบของราเมงได้ด้วยตัวเองครับ
2. แข็งพิเศษ เรียกว่า "ฮะริ กะเนะ"「ハリガネ」 ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "เส้นลวด" เป็นการเปรียบเทียบความแข็งแบบกรุบเล็กน้อยกำลังพอดี ใช้เวลาลวกที่ 5 วินาที
3. แข็งมาก เรียกว่า "บะริ คะตะ"「バリカタ」 แปลได้ตรงๆตัวเลยว่า "แข็งมาก" คำว่า "บะริ"ในภาษาฟุกุโอกะนั้นแปลว่า "มาก" ส่วน "คะตะ"แปลว่าแข็งนั้นเอง โดยใช้เวลาในการลวกอยู่ที่ 10 วินาที
4. แข็ง เรียกว่า "คะตะ"「カタ」 ใช้เวลาลวก 15-30 วินาที
5. เส้นธรรมดา "ฟุซือ" 「フツウ」ลวก 30-50 วินาที
6. เส้นนิ่ม เรียกว่า "ยะวะ" 「ヤワ」ลวก 60-90 วินาที
นอกจากนี้ยังสามารถเลือกความเข้มข้นของน้ำซุป ตลอดจนสีของต้นหอมที่ใช้โรยว่าจะเอาส่วนที่เป็นสีเขียว สีขาว หรือผสมกันได้อีกด้วย ดังนั้นเราสามารถกำหนดรูปแบบของราเมงได้ด้วยตัวเองครับ
เห็นหรือยังครับว่าประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับจุดเล็กๆน้อยๆกับเรื่องอาหารมากแค่ไหน จริงๆแล้วไม่ใช่แค่เรื่องอาหารเท่านั้นแต่พวกเขายังให้ความสำคัญกับทุกๆเรื่องครับ เพราะอย่างนี้นี่เองทางทีมงานอาเซียนบีทจึงอยากให้ทุกคนได้ไปลองทานราเมงของจริงกันถึงที่ญี่ปุ่น เราหวังว่าข้อมูลในเรื่องของราเมงในครั้งนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านได้ไม่มากก็น้อย ไว้พบกันใหม่กับบทความใหม่ๆในครั้งหน้านะครับ สวัสดีครับ ^^
หัวข้อเกี่ยวข้อง คลิ๊กที่นี่
WHAT’S NEW
EDITORS' PICKS
PRESENTS
asianbeat's present campaign!
- ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง คุณ Aoyama Yoshino, คุณ Suzushiro Sayumi สำหรับ 2 ท่าน
- ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง Okasaki Miho คุณ Kumada Akane และคุณMindaRyn สำหรับ 2 ท่าน
- ◆Winner announced! ลุ้นรับของรางวัลจาก "เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ว Scarlet Bond เวอร์ชั่นภาพยนตร์" สำหรับ 3 ท่าน