- Home
- คอลัมน์พิเศษ
- สัมภาษณ์คนญี่ปุ่นที่ทำงานในไทย
- อาชีพสุด cool ของคนญี่ปุ่นในปร...
อาชีพสุด cool ของคนญี่ปุ่นในประเทศไทย ตอนที่ 3(1/2)
Previous | Next

มหานครกว้างใหญ่อย่างกรุงเทพฯมีคนญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาอาศัยและทำงานอยู่มากมาย ซึ่งต่างก็มาจากภูมิภาคที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน แต่บทความที่เราจะนำมาเสนอกันในครั้งนี้แน่นอนว่า จะต้องแฝงไปด้วยกลิ่นอายของดินแดนฟุกุโอกะ และนี่ก็เป็นบทความตอนที่สองที่เราจะนำท่านไปพบกับคนญี่ปุ่นที่มาจากจังหวัดฟุกุโอกะซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ถ้าพร้อมแล้วไปพบกับเธอกันเลย...
จุดเริ่มต้นของการมาเป็นคุณโนริโกะกับเครื่องดนตรีโคะโตะ

คุณทสึโบอิ โนริโกะ หรือเรียกสั้นๆว่า คุณโนริโกะ คุณครูและศิลปินเครื่องดนตรีประเภทสาย "โคะโตะ" เครื่องดนตรีประเภทสาย เครื่องดนตรีโบราณของญี่ปุ่นที่ปัจจุบันนั้นแทบจะหาผู้สานต่อวัฒนธรรมทางด้านนี้ค่อนข้างยากทีเดียวในหมู่วัยรุ่นก็ว่าได้
ก่อนที่จะทำความรู้จักกับคุณครูโนริโกะนั้นเรามารู้จักเกี่ยวกับเครื่องดนตรี "โคะโตะ" ดังกล่าวก่อนดีกว่าว่าเป็นเครื่องดนตรีอะไร ซึ่งบางคนอาจจะเคยคุ้นเคยกับชื่อเครื่องดนตรีประเภทนี้มาบ้างแต่ในครั้งนี้เราจะนำเสนอแบบเจาะลึกให้คุณเป็นผู้รู้เรื่องโคะโตะไปพร้อมกับคุณครูโนะริโกะกันเลยทีเดียวเอาล่ะไปรู้จักกับโคะโตะกัน
ก่อนที่จะทำความรู้จักกับคุณครูโนริโกะนั้นเรามารู้จักเกี่ยวกับเครื่องดนตรี "โคะโตะ" ดังกล่าวก่อนดีกว่าว่าเป็นเครื่องดนตรีอะไร ซึ่งบางคนอาจจะเคยคุ้นเคยกับชื่อเครื่องดนตรีประเภทนี้มาบ้างแต่ในครั้งนี้เราจะนำเสนอแบบเจาะลึกให้คุณเป็นผู้รู้เรื่องโคะโตะไปพร้อมกับคุณครูโนะริโกะกันเลยทีเดียวเอาล่ะไปรู้จักกับโคะโตะกัน
เครื่องดนตรีประเภทสาย "โคะโตะ" เป็นเครื่องดนตรีประเภทไหน?
โคะโตะ (Koto, 箏) คือเครื่องดนตรีประเภทสาย เป็นเครื่องดนตรีโบราณที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่นอย่างนึงเลย ถูกเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น เรียกว่า zheng ในประเทศจีน เรียกว่า yatga ในประเทศมองโกเลีย และเรียกว่า gayaguem ในเกาหลี โกโตะมีความยาวประมาณ 180 เซนติเมตร ทำจากไม้ kiri มี 13 สาย ซึ่งทำจากเส้นไหม วิธีดีดจะใช้เพียง 3 นิ้ว คือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง โดยจะให้เสียงกังวาลที่แตกต่างกันไป
โคะโตะ ถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นในช่วงปลายศตวรรษที่ 7 และ 8 โดยนักดนตรีจากจีนและเกาหลีที่เล่นในวงออเคสตร้า โกโตะแบบดั้งเดิมมี 5 สาย และถูกพัฒนามาเป็น 7 สายในเวลาต่อมา แต่ตอนถูกนำมาที่ญี่ปุ่นในสมัยนาระ (Nara) ก็ถูกพัฒนาเป็น 13 สายแล้ว ความหลากหลายของเครื่องดนตรีชนิดนี้มาจากรูปแบบพื้นฐาน 2 แบบ คือ พิณแบบมีคอ และพิณแบบราบไปเลยไม่มีคอ แบบที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในจีนคือ qin ซึ่งรูปแบบจะคล้ายกับเครื่องดนตรีทั่วไปในเอเชีย
ครั้งแรกที่โคะโตะถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่น คำว่า “โคะโตะ” ยังใช้เรียกแทนเครื่องดนตรีของญี่ปุ่นทุกชนิดที่เป็นเครื่องสาย เวลาผ่านไป คำว่า “โคะโตะ” ไม่สามารถบ่งบอกชนิดของเครื่องสายได้ชัดเจน เพราะเครื่องสายก็มีหลากหลายชนิดและแตกต่างกันไป เช่น kin no koto ก็เรียกสั้นๆ ว่า kin, sau no koto ก็เรียกสั้นๆ ว่า soo แต่รวมๆ เราก็ยังเรียกเครื่องสายว่า “โคะโตะ” อยู่ดี
อาจเป็นไปได้ว่า คนที่มีอิทธิพลส่งผลให้โคะโตะเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ยาซึฮาชิ เคนเกียว เขาคือนักดนตรีจากเกียวโต ที่เปลี่ยนเพลง 6 เพลงซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ในการบรรเลงโคะโตะแบบดั้งเดิมให้เกิดในรูปแบบใหม่ เรียกว่า คุมิ อุตะ ยาซึฮาชิ เขาจึงเป็นที่รู้จักในนาม บิดาแห่งโคะโตะสมัยใหม่
คนที่มีอิทธิพลต่อโคะโตะอีกคนหนึ่งก็คือ มิชิโอะ มิยากิ นักแต่งเพลงในสมัยเมจิ เป็นนักแต่งเพลงคนแรกที่นำเอาเพลงดั้งเดิมของโคะโตะมาผสมผสานกับเพลงตะวันตกสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ทำให้โกโตะซึ่งกำลังจะถูกกระแสนิยมตะวันตกกลืนหายไปกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง เขาประพันธ์เพลงใหม่ไว้ถึง 300 กว่าเพลง และประดิษฐ์โกโตะ 17 สาย เพื่อการเล่นที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ เขายังทำให้โคะโตะเป้นที่รู้จักไปในอีกหลายประเทศ โดยการไปแสดงในที่ต่างๆ ก่อนที่จะเสียชีวิตลงด้วยวัยเพียง 62 ปี ด้วยอุบัติเหตุทางรถไฟ
ในปัจจุบันโคะโตะมีการสอนอย่างแพร่หลาย และมีการดัดแปลงให้เข้ากับดนตรีสมัยใหม่มากขึ้น มีวงดนตรีแนวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวตะวันตก หรือ pop-rock นำไปเล่นอยู่เสมอๆ และมีโรงเรียนสอนที่มีชื่อเสียงมากมาย รวมถึงมีศิลปินโกโตะที่อยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ขอบคุณข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ โคะโตะ
จากเว็ป "มารุมูระ"
โคะโตะ ถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นในช่วงปลายศตวรรษที่ 7 และ 8 โดยนักดนตรีจากจีนและเกาหลีที่เล่นในวงออเคสตร้า โกโตะแบบดั้งเดิมมี 5 สาย และถูกพัฒนามาเป็น 7 สายในเวลาต่อมา แต่ตอนถูกนำมาที่ญี่ปุ่นในสมัยนาระ (Nara) ก็ถูกพัฒนาเป็น 13 สายแล้ว ความหลากหลายของเครื่องดนตรีชนิดนี้มาจากรูปแบบพื้นฐาน 2 แบบ คือ พิณแบบมีคอ และพิณแบบราบไปเลยไม่มีคอ แบบที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในจีนคือ qin ซึ่งรูปแบบจะคล้ายกับเครื่องดนตรีทั่วไปในเอเชีย
ครั้งแรกที่โคะโตะถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่น คำว่า “โคะโตะ” ยังใช้เรียกแทนเครื่องดนตรีของญี่ปุ่นทุกชนิดที่เป็นเครื่องสาย เวลาผ่านไป คำว่า “โคะโตะ” ไม่สามารถบ่งบอกชนิดของเครื่องสายได้ชัดเจน เพราะเครื่องสายก็มีหลากหลายชนิดและแตกต่างกันไป เช่น kin no koto ก็เรียกสั้นๆ ว่า kin, sau no koto ก็เรียกสั้นๆ ว่า soo แต่รวมๆ เราก็ยังเรียกเครื่องสายว่า “โคะโตะ” อยู่ดี
อาจเป็นไปได้ว่า คนที่มีอิทธิพลส่งผลให้โคะโตะเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ยาซึฮาชิ เคนเกียว เขาคือนักดนตรีจากเกียวโต ที่เปลี่ยนเพลง 6 เพลงซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ในการบรรเลงโคะโตะแบบดั้งเดิมให้เกิดในรูปแบบใหม่ เรียกว่า คุมิ อุตะ ยาซึฮาชิ เขาจึงเป็นที่รู้จักในนาม บิดาแห่งโคะโตะสมัยใหม่
คนที่มีอิทธิพลต่อโคะโตะอีกคนหนึ่งก็คือ มิชิโอะ มิยากิ นักแต่งเพลงในสมัยเมจิ เป็นนักแต่งเพลงคนแรกที่นำเอาเพลงดั้งเดิมของโคะโตะมาผสมผสานกับเพลงตะวันตกสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ทำให้โกโตะซึ่งกำลังจะถูกกระแสนิยมตะวันตกกลืนหายไปกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง เขาประพันธ์เพลงใหม่ไว้ถึง 300 กว่าเพลง และประดิษฐ์โกโตะ 17 สาย เพื่อการเล่นที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ เขายังทำให้โคะโตะเป้นที่รู้จักไปในอีกหลายประเทศ โดยการไปแสดงในที่ต่างๆ ก่อนที่จะเสียชีวิตลงด้วยวัยเพียง 62 ปี ด้วยอุบัติเหตุทางรถไฟ
ในปัจจุบันโคะโตะมีการสอนอย่างแพร่หลาย และมีการดัดแปลงให้เข้ากับดนตรีสมัยใหม่มากขึ้น มีวงดนตรีแนวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวตะวันตก หรือ pop-rock นำไปเล่นอยู่เสมอๆ และมีโรงเรียนสอนที่มีชื่อเสียงมากมาย รวมถึงมีศิลปินโกโตะที่อยู่ตามประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ขอบคุณข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ โคะโตะ
จากเว็ป "มารุมูระ"

จากประสบการณ์ที่ยาวนานในวงการ โคะโตะ จากญี่ปุ่น สู่การมาพบรักที่อเมริกา
คุณโนริโกะเติบโตมากับครอบครัวนักดนตรีโบราณของญี่ปุ่นโดยที่บ้านของคุณโนริโกะนั้นได้สายเลือดศิลปินนักดนตรีตกทอดมาจากคุณแม่ของคุณโนริโกะซึ่งเป็นนักดนตรีโคโตะมาแต่เดิมอยู่แล้ว เส้นทางของการมาเป็นนักเล่นดนตรีโคะโตะมืออาชีพนั้นเกิดจากการเข้าไปเป็นลูกศิษย์ประจำบ้านของโรงเรียนสอนดนตรีโคะโตะของปรมจารย์โคะโตะขั้นเทพอย่าง อ.ซาวัย ทาดาโอะ และภรรยา คุณ ซาวัย คัสสึเอะ เจ้าของโรงเรียน Sawai Koto Institute ที่โตเกียว โรงเรียนสอนการเล่นโคะโตะแนวร่วมสมัย ซึ่งโคะโตะนั้นเป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ซึ่งพอมาถึงยุคสมัยเมจินั้นได้มีอิทธิพลของเพลงต่างชาติเข้ามาเยอะขึ้น เพื่อให้คนรุ่นใหม่ฟังง่ายมากขึ้นจึงมีบางเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่จากโรงเรียน ซาวัย โคะโตะ ซึ่งเพลงที่แต่งโดยมีสเน่ห์ของความเป็นโคะโตะดั้งเดิมและเพิ่มความทันสมัยลงไปเพื่อเติมสเน่ห์ให้กับเสียงเพลงมากขึ้นในแบบฉบับของโรงเรียนโคะโตะ ซาวัย การสอนแบบอ.ซาวัยนั้นนอกจากจะมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลางอยู่ที่โตเกียวแล้วอ.ซาวัยยังมีการเผยแพร่วัฒนธรรมการเรียนโคะโตะไปยังหัวเมืองต่างจังหวัดในหลายๆเมืองทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งการเดินทางไปเผยแพร่วัฒนธรรมโคะโตะนั้นอ.ซาวัยเป็นคนเผยแพร่เองและยังให้ลูกศิษย์ที่ผ่านจากการคัดมาแล้วว่าเป็นลูกศิษย์พิเศษในหัวเมืองต่างๆและต่างประเทศในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "อุจิเดะชิ" คือลูกศิษย์ที่มาเรียนรู้ในบ้านซึ่งไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้ามาเป็นลูกศิษย์ในบ้านได้และต้องมีศักยภาพและความสามารถพิเศษจริงๆถึงจะได้รับเลือกมาเป็นลูกศิษย์ในบ้านและคุณโนริโกะก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วยเช่นกัน เบ็ดเสร็จเวลาแล้วก็ร่วม 4 ปีในการฝึกฝนกับเครื่องดนตรีโคะโตะ เรียกได้ว่าต้องมีใจรักจริงๆเลยทีเดียว ซึ่งจากการเล่าเรียนและถูกปลูกฝั่งที่ซึมซับลงมาในตัวคุณโนริโกะเองอย่างเข้มข้น ทำให้ในตัวคุณโนริโกะนั้นเต็มไปด้วยกลิ่นอายของนักดนตรีโคะโตะตัวจริงเลยก็ว่าได้ ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนออกมาจากผลงานการประกวดที่ได้รางวัลต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลังจากจบการศึกษาจากสถานบันโคะโตะ ซาวัยแล้วคุณโนริโกะก็เดินทางไปเป็นครูสอนโคะโตะสืบทอดวัฒนธรรมในสายนักดนตรีโคะโตะที่มหาวิทยาลัย University of California, San Diego ที่เรียกได้ว่าอายุยังน้อยมากในตอนนั้นที่แซนดิเอโก้,ประเทศสหรัฐฯอเมริกา และก็เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวหน้าใหม่ในการพบรักกับสามีคุณโนริโกะซึ่งเป็นคนไทยที่ประเทศอเมริกาด้วยนั้นเอง
Previous | Next
WHAT’S NEW
EDITORS' PICKS
PRESENTS
asianbeat's present campaign!
- ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง คุณ Aoyama Yoshino, คุณ Suzushiro Sayumi สำหรับ 2 ท่าน
- ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง Okasaki Miho คุณ Kumada Akane และคุณMindaRyn สำหรับ 2 ท่าน
- ◆Winner announced! ลุ้นรับของรางวัลจาก "เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ว Scarlet Bond เวอร์ชั่นภาพยนตร์" สำหรับ 3 ท่าน