- Home
- คอลัมน์พิเศษ
- asianbeat original pop culture...
- [asianbeat original pop cultur...
[asianbeat original pop culture column vol.1]
เกียรุ อีส เจแปนคูล

ยุคสมัยแต่ละยุคจะพัฒนาไปแบบเกลียวที่หมุนวนซ้ำไปซ้ำมา ดำเนินไปข้างหน้าแล้วก็ย้อนกลับมายังตำแหน่งเริ่มต้น สูงสุดกลับคืนสู่สามัญ
ดูเหมือนว่าอารยธรรมความเจริญต่างๆของสังคมมนุษย์เราจะ
พัฒนามาเช่นนี้และเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อนแล้ว รอบแห่งการย้อนกลับไปสู่ตำแหน่งเริ่มต้นของเกลียวที่ว่าในสมัยนี้นับวันมีแต่จะสั้นลงเรื่อยๆก็คือผลสืบเนื่องมาจากลักษณะ
การพัฒนาของสังคมมนุษย์เช่นนี้นั่นเอง
กระแสความนิยมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
จนแทบตามไม่ทันแบบในปัจจุบันนี้แล้วถ้าเช่นนั้นพลังที่ขับเคลื่อนให้เกลียวแห่งการพัฒนานี้ยังคงหมุนวนอยู่ได้คืออะไร?
ไม่ว่าจะในยุคใดสมัยใดพลังขับเคลื่อนที่ว่านั้นก็คือพลังที่สวน
กระแสกับยุคสมัยในปัจจุบันเสมอหากไม่เป็นเช่นนั้น ยุคสมัยก็คงไม่หมุนวนกลับไปที่จุดเดิมได้อย่างสวยงามเช่นนี้ ตัวแทนแห่งพลังขับเคลื่อนที่สำคัญนี้คือใคร?เหล่า“เกียรุ”และ “แยงกี้” นี่แหละที่เป็นต้นกำเนิดกระแสป็อปคัลเจอร์ของญี่ปุ่น
เกียรุ” ดูเชิงอรรถ 1
แยงกี้” ดูเชิงอรรถ 2
ภาษาญี่ปุ่นมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยากที่จะกลายเป็นภาษาที่ใช้กัน
แพร่หลายในสังคมโลกและญี่ปุ่นก็ต่างจากยุโรปตรงที่ในญี่ปุ่น
วัฒนธรรมไม่ได้พัฒนาขึ้นท่ามกลางคนหลายเชื้อชาติ
หลายภาษาทว่าเมื่อลองมองดูผลงานศิลปะและการ์ตูนของญี่ปุ่นแล้วแม้กระทั่งจากมุมมองของชาวต่างชาติผลงานเหล่านี้ของญี่ปุ่นก็มีความหลากหลายมากจนน่าตกใจเลยทีเดียวและในช่วงรอยต่อ
แห่งยุคสมัยอย่างในปัจจุบันนี้ ญี่ปุ่นที่เผชิญกับสถานการณ์จำนวนประชากรลดลงและสถานการณ์ความอิ่มตัวของตลาดเร็วกว่าชาติใดๆนี้เองที่ได้ให้กำเนิดป็อปคัลเจอร์ที่หลากหลายมาอย่างต่อเนื่องผู้ถือธงนำขบวนก็คือเหล่า “เกียรุ”หากจะพูดถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่นในปัจจุบันแล้วล่ะก็ คงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความเคลื่อนไหวของพวกเธอไม่ได้เลย
ดูเหมือนว่าอารยธรรมความเจริญต่างๆของสังคมมนุษย์เราจะ
พัฒนามาเช่นนี้และเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อนแล้ว รอบแห่งการย้อนกลับไปสู่ตำแหน่งเริ่มต้นของเกลียวที่ว่าในสมัยนี้นับวันมีแต่จะสั้นลงเรื่อยๆก็คือผลสืบเนื่องมาจากลักษณะ
การพัฒนาของสังคมมนุษย์เช่นนี้นั่นเอง
กระแสความนิยมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
จนแทบตามไม่ทันแบบในปัจจุบันนี้แล้วถ้าเช่นนั้นพลังที่ขับเคลื่อนให้เกลียวแห่งการพัฒนานี้ยังคงหมุนวนอยู่ได้คืออะไร?
ไม่ว่าจะในยุคใดสมัยใดพลังขับเคลื่อนที่ว่านั้นก็คือพลังที่สวน
กระแสกับยุคสมัยในปัจจุบันเสมอหากไม่เป็นเช่นนั้น ยุคสมัยก็คงไม่หมุนวนกลับไปที่จุดเดิมได้อย่างสวยงามเช่นนี้ ตัวแทนแห่งพลังขับเคลื่อนที่สำคัญนี้คือใคร?เหล่า“เกียรุ”และ “แยงกี้” นี่แหละที่เป็นต้นกำเนิดกระแสป็อปคัลเจอร์ของญี่ปุ่น
เกียรุ” ดูเชิงอรรถ 1
แยงกี้” ดูเชิงอรรถ 2
ภาษาญี่ปุ่นมีโครงสร้างที่ซับซ้อนยากที่จะกลายเป็นภาษาที่ใช้กัน
แพร่หลายในสังคมโลกและญี่ปุ่นก็ต่างจากยุโรปตรงที่ในญี่ปุ่น
วัฒนธรรมไม่ได้พัฒนาขึ้นท่ามกลางคนหลายเชื้อชาติ
หลายภาษาทว่าเมื่อลองมองดูผลงานศิลปะและการ์ตูนของญี่ปุ่นแล้วแม้กระทั่งจากมุมมองของชาวต่างชาติผลงานเหล่านี้ของญี่ปุ่นก็มีความหลากหลายมากจนน่าตกใจเลยทีเดียวและในช่วงรอยต่อ
แห่งยุคสมัยอย่างในปัจจุบันนี้ ญี่ปุ่นที่เผชิญกับสถานการณ์จำนวนประชากรลดลงและสถานการณ์ความอิ่มตัวของตลาดเร็วกว่าชาติใดๆนี้เองที่ได้ให้กำเนิดป็อปคัลเจอร์ที่หลากหลายมาอย่างต่อเนื่องผู้ถือธงนำขบวนก็คือเหล่า “เกียรุ”หากจะพูดถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่นในปัจจุบันแล้วล่ะก็ คงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความเคลื่อนไหวของพวกเธอไม่ได้เลย

วัฒนธรรมเกียรุที่โบกมือลาจากสังคมบริโภคนิยมปัจจุบัน
ปีค.ศ.2009อิทธิพลของวัฒนธรรมเกียรุได้ก้าวข้ามขอบเขตวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านกระแสหลักและกำลังเป็นที่จับตามองไปทั่วเอเซียอย่างเช่นในกรุงเทพเมืองหลวงของประเทศไทย ที่เทรนด์การแต่งเครื่องแบบนักเรียนตามใจฉัน “นันจัตเตะเซฟุคุ” กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การแต่งเครื่องแบบตามใจฉันในทุกวันนี้ต่างไปจากการแต่งตัวผิดระเบียบในสมัยก่อนของญี่ปุ่นที่กำเนิดมาเพื่อต่อต้าน
แนวคิดที่ว่าเด็กดีต้องใส่เครื่องแบบอย่างถูกระเบียบ แต่มีรากฐานจากความคิดว่า“ในช่วงวัยสาวแบบนี้อะไรที่ยังแต่ง
ได้ก็ควรรีบแต่งเอาไว้เสียก่อนที่จะล่วงเลยวัยอันสมควร” เป็นวัฒนธรรมคอสเพลย์ของเหล่าเด็กสาวเพื่อเด็กสาวเองล้วนๆ ประเด็นสำคัญก็คือจะใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดเช่นนี้ให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร


แนวคิดที่ว่าเด็กดีต้องใส่เครื่องแบบอย่างถูกระเบียบ แต่มีรากฐานจากความคิดว่า“ในช่วงวัยสาวแบบนี้อะไรที่ยังแต่ง
ได้ก็ควรรีบแต่งเอาไว้เสียก่อนที่จะล่วงเลยวัยอันสมควร” เป็นวัฒนธรรมคอสเพลย์ของเหล่าเด็กสาวเพื่อเด็กสาวเองล้วนๆ ประเด็นสำคัญก็คือจะใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดเช่นนี้ให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร



สวนทางกับกระแสโลกที่ใหญ่มากกว่ากฎระเบียบของโรงเรียน
มากนัก
ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในญี่ปุ่นที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกนั้นมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆและเมื่อคาดการณ์ถึงสถาน
การณ์หลังจากนี้ญี่ปุ่นที่กำลังเผชิญกับปัญหาอัตราการเกิดต่ำจำนวนประชากรลดอยู่ในตอนนี้ก็เห็นได้ชัดว่าคงไม่สามารถดำรง
ความเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ทางการบริโภคเอาไว้ได้โดยง่ายในยุคสมัยเช่นนี้จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือน่าแปลกใจแต่อย่างใดเลยที่สุดยอดเกียรุผู้ชักนำกระแสอย่าง“โมโมกะเอริ”และ“มาสึวากะสึบาสะ”จะถือกำเนิดขึ้นมา
บนปกนิตยสาร“โคะอาคุมะอาเงหะ”ฉบับเดือนมีนาคมปีสองพัน
เก้ามีข้อความสั้นๆว่า“ตั้งแต่เกิดมาญี่ปุ่นก็เป็นแบบนี้อยู่แล้ว จะบอกว่าตอนนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ดีมันก็ไม่ค่อยเก็ทน่ะ” ตั้งแต่เกิดมาเด็กสาวเหล่านี้ก็มีจุดยืนต่างไปจากลุงๆที่ยังไม่ตื่น
จากความฝันในช่วงที่กราฟความเจริญทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นพุ่งสูงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกันแล้วน่าจะกล่าวได้ว่าเด็กสาวเหล่านี้
ต้องปากกัดตีนถีบมากกว่า กร้านโลกและเข้มแข็งมากกว่าเยอะ
ตลาดสินค้าแบรนด์ของญี่ปุ่นเหี่ยวเฉาไปตามสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แต่สำหรับเกียรุทั้งหลายแล้วเรื่องพรรค์นั้นไม่เคยอยู่ในสายตาของพวกเธอในภาวะที่มีเวลาอยู่อย่างจำกัดและเงินก็ไม่ได้มี
มากมายเช่นนี้ พวกเธอคิดว่าเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็มีแต่ต้องสร้างแฟชั่นที่เหมาะกับพวกเธอขึ้นมาเองหากครีเอทีฟหรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในนิยามของการผลิตแล้วแน่นอนว่าแนวคิดนี้ของพวกเธอนั้นไม่ได้จัดเป็นแนวคิดเพื่อการอุปโภคบริโภคหากแต่เป็น
แนวคิดเพื่อการสร้างการผลิตอย่างแท้จริง
“ตลาดบริโภคบนฝ่ามือ”ได้ถือกำเนิดขึ้นจากเทคโนโลยีของ
โทรศัพท์มือถือและพร้อมๆกันนั้นเหล่าเกียรุก็ได้ผลิตและสรรค์ส
ร้างสิ่งต่างๆมากมายมาป้อนให้กับตลาดด้วย“การผลิตบนฝ่ามือ” วัฒนธรรมการตกแต่งด้วยคริสตัลแวววาวของเหล่าเกียรุหรือ “เดโคบุงกะ”นั้นเป็นเอกเทศและเป็นสิ่งที่แสดงการโบกมือลาจาก
สังคมบริโภคนิยมของพวกผู้ใหญ่





เหล่าเกียรุมิได้สนใจแม้แต่จะปรายหางตาไปแลดูเหล่าลุงๆของญี่ปุ่นที่เคยผ่านช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ของญี่ปุ่นมาและแม้แต่ในตอนนี้ก็ยังคงร่ำไห้โหยหาวันเก่าๆ พวกเธอมุ่งมั่นที่จะยืนอยู่ด้วยลำแข้งของตัวเองสร้างสิ่งที่พวกเธอต้องการขึ้นมาเองพวกเธอจึงทุ่มเทให้กับ“การผลิตบนฝ่ามือ” ที่นานาประเทศในเอเซียต่างชื่นชมยกย่องป็อปคัลเจอร์ของญี่ปุ่น
จนขนานนามว่า“เจแปนคูล”นั้นก็เพราะว่าที่ญี่ปุ่นมีขุมกำลังอัน
แข็งแกร่งในสังคมระดับล่างที่สามารถค้นพบเมล็ดพันธุ์
กระแสนิยมใหม่ๆได้ซึ่งก็เป็นแรงกำลังแห่งมวลชนตามสไตล์ของญี่ปุ่นที่ผลักดันให้ญี่ปุ่นหลังสงครามได้ก้าวมาจนถึงทุกวันนี้
เชิงอรรถ1“เกียรุ” เป็นคำยืมมาจากภาษาอังกฤษว่าgal=girl ในภาษาญี่ปุ่นใช้เรียกเหล่าเด็กสาวในช่วงอายุสิบและยี่สิบปี ซึ่งมีรูปแบบการแต่งตัวที่ฉูดฉาดสะดุดตาแต่ทว่าวัฒนธรรมของเหล่าเกียรุนั้นในปัจจุบันได้แตกย่อยสาขาออกไปมากมาย
เชิงอรรถ2”แยงกี้”มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Yankeeแต่ในญี่ปุ่นหมายถึงกลุ่มเด็กหนุ่มเด็กสาวที่ชอบใช้ความรุนแรงหรือกลุ่มวัยรุ่นอันธพาล
Links
(c) 2009 Moery
(c) 2008-2009 SGR.inc. All
(c) 2008-2009 SGR.inc. All

นากามุระชูจิ(Shuji Nakamura)
ตัวแทนคณะกรรมการบริหารบริษัทจำกัด
เปเปอร์คัมพานีบริษัทหุ้นส่วนคีแนกซ์โฮลดิ้ง
WHAT’S NEW
EDITORS' PICKS
PRESENTS
asianbeat's present campaign!
- ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง คุณ Aoyama Yoshino, คุณ Suzushiro Sayumi สำหรับ 2 ท่าน
- ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง Okasaki Miho คุณ Kumada Akane และคุณMindaRyn สำหรับ 2 ท่าน
- ◆Winner announced! ลุ้นรับของรางวัลจาก "เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ว Scarlet Bond เวอร์ชั่นภาพยนตร์" สำหรับ 3 ท่าน