icon ขณะนี้ได้มีมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสใหม่ในแต่ละพื้นที่ กรุณาตรวจสอบข้อมูลการเคลื่อนไหวของงานกิจกรรมและร้านค้าต่างๆตามเว็บไซต์
icon ขณะนี้ได้มีมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสใหม่ในแต่ละพื้นที่
กรุณาตรวจสอบข้อมูลการเคลื่อนไหวของงานกิจกรรมและร้านค้าต่างๆตามเว็บไซต์

asianbeat เว็ปไซด์เสนอข้อมูลข่าวสารแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเยาวชนเอเชีย

  • facebook
  • Instagram

[ไอคอน] เรียว อิชิคาวา นักปฏิวัติหนุ่มไฟแรงผู้แบกรับวงการแฟชั่นญี่ปุ่นแบรนด์ชื่อดัง VANQUISH(1/2)

Previous  |  
ishikawaryo.png

 คุณเรียว อิชิคาวะตัวแทนผู้บริหารของแบรนด์ชื่อดังอย่าง VANQUISH ที่ในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าทรงอิทธิพลและได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลายแบรนด์หนึ่งในวงการแฟชั่นแนว “โอะนี่เค” (ดูเชิงอรรถ1) ของญี่ปุ่น แฟชั่นแนวที่อาจเรียกได้ว่าถือกำเนิดขึ้นที่ญี่ปุ่นนี่เอง นอกจากจะกำลังได้รับความสนใจจากทั่วโลกในฐานะแบรนด์สินค้าแฟชั่นแนวโอะนี่เค (ดูเชิงอรรถ1) มากขึ้นเรื่อยๆแล้ว คุณเรียว อิชิคาวะยังได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่เปี่ยมล้นมากมายให้ทุกคนแม้กระทั่งคนที่ไม่ได้เป็นแฟนของแฟชั่นแนวโอะนี่เคได้ประจักษ์ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมงามเจแปนแฟชั่นวีค 2010 (JFW in Tokyo) หรือการร่วมโปรดิวซ์สินค้ากับอาดิดาสในโปรเจคท์ adidas Originals for VANQUISH และในปีถัดมาก็ยังร่วมมือกับคุณฮิโรชิ ฟุจิวาระ ประกาศโปรเจคท์ DENIM BY VANQUISH & FRAGMENT รวมไปถึงการบุกตลาดเอเซีย ซึ่งล้วนสร้างความตื่นเต้นและแปลกประหลาดใจมาโดยตลอด
 และในปี 2012 นี้ยังได้รับเลือกจากนิตยสารโรลลิ่งสโตนประเทศญี่ปุ่น ให้เป็น 1 ใน 12 ศิลปินผู้น่าจับตามองอีกด้วย ในครั้งนี้เราได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์เขาอยู่นาน และโชคดีที่ได้มีโอกาสมาฟังเขาเล่าถึงความเป็นมาของการก่อตั้งแบรนด์ การขยายตลาดไปสู่ภูมิภาคเอเซียในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาและสิ่งที่เขาพยายามจะสื่อสารผ่านทางงานในเชิงรุก
ของเขา

ผมคิดว่าเราควรกระโดดเข้าไปภายในชุมชมที่กำลังคึกคักครึกครื้นอยู่จริงๆ

asianbeat(ต่อไปย่อว่าab):อะไรคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้คิดอยากเข้ามาทำงานในวงการแฟชั่น?

เรียว อิชิคาวะ(ต่อไปย่อว่า อิชิคาวะ):ตัวผมเองเกิดตอนที่พ่อผมอายุ 19 ปี ก็เลยค่อนข้างมีความรู้สึกใกล้ชิดกัน ไปซื้อของด้วยกันบ่อยๆ พ่อชอบไปซื้อเสื้อผ้าครับ ผมเข้าทำงานในร้านที่พ่อชอบไปซื้อเสื้อผ้าบ่อยๆ

ab: ตั้งใจจะสร้างแบรนด์เสื้อผ้าของตนเองตั้งแต่เริ่มแรกเลยหรือเปล่า?

อิชิคาวะ :ไม่เลยครับ ผมมาโตเกียวตอนอายุ20 ทำงานในธุรกิจเสื้อผ้า บริษัทพวก OEM (บริษัทที่รับผลิตสินค้าของแบรนด์บริษัทอื่นๆ) จนถึงอายุ24 แล้วก็ออกมาตั้งบริษัทของตัวเอง VANQUISH นี่ผมเริ่มทำตอนอายุ 29 ครับ

ab:ตอนนี้ถ้าพูดถึง VANQUISH ก็ต้องนึกถึงแฟชั่น “โอะนี่เค” ไม่ทราบว่าเน้นแนวนี้มาตั้งแต่แรกเลยหรือเปล่า?
ishikawa ryo
อิชิคาวะ : อันนี้เป็นเรื่องสำคัญเลยล่ะครับ มันก็อธิบายยากเหมือนกันนะครับ(หัวเราะ) มันเป็นช่วงรอยต่อของยุคสมัยพอดี ตอนนั้นผมเองยังไม่ค่อยเข้าใจเบื้องหน้าเบื้องหลังและส่วนลึกของยุคนั้นดีนก ผมมีรุ่นพี่ที่ทำงานคอลเลคชั่นไลน์อยู่คนนึงครับ เป็นคนที่พูดจาฟังดูดีมาก เท่ห์มาก แต่ชีวิตแกเอาเข้าจริงๆแล้วไม่ค่อยจะสบายสักเท่าไหร่ ผมคิดว่าจริงๆแล้วถ้าแบบนี้มันก็ไม่ค่อยเท่ห์นัก ผมก็เลยคิดว่า ถ้าผมจะทำล่ะก็ผมอยากจะทำสินค้าที่ขายได้ มากกว่าสินค้าที่ดีแต่ขายไม่ออก คือ คนในยุค 90 เนี่ย เขามักจะคิดถึงตัวสินค้าเป็นหลัก อย่างแบบ “ลักษณะตรงนี้มันเท่ห์นะ” หรือไม่ก็ “เนื้อผ้าดีนะ” อะไรแบบนี้ แต่สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่านั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญ ผมคิดว่าเราควรกระโดดเข้าไปในสังคมที่มันกำลังคึกคักครึกครื้นอยู่จริงๆ แล้ววิธีการสร้างสิ่งใหม่ๆที่ยังไม่มีในสังคมนั้นตามสไตล์ของพวกเรานี่แหละครับ ที่เป็นแนวทางใหม่

ab:ตัวชุมชนที่ว่านี่ไปเจอเข้าโดยบังเอิญเหรอ?

อิชิคาวะ : ใช่ครับ คือนับเป็นชุมชน (คอมมิวนิตี้) ที่กำลังคึกคักมากที่สุดในตอนนั้นเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าตัวผมเองจะไม่ได้เป็น “แกลโอะ” แต่ผมก็คิดว่า “นี่แหละ ใช่เลย” ต้องที่นี่แหละ แต่ก็ไม่ได้คิดถึงอนาคตครับ ผู้คนก่อนสมัยนั้น อาจจะเคยทำอะไรในแบบของตัวเองแล้วประสบความสำเร็จ แต่ความสำเร็จนั้นมันก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละยุคแต่ละสมัยนั้นด้วย
ab:คนทำงานแฟชั่นมักชอบยัดเยียดความคิดของตัวเองให้ผู้บริโภคนะ แบบว่า “มันต้องแบบนี้ถึงจะเท่ห์”

อิชิคาวะ : ใช่ครับ แต่บริษัทของพวกผมไม่ได้เป็นแบบนั้น เราทำสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ คือแนวทางของเราจะสวนทางกับคนอื่นๆในวงการแฟชั่น คนที่มีความภาคภูมิใจศักดิ์ศรีของตัวเองสูงมากๆคงมาทำงานนี้ไม่ได้

คนอื่นๆในวงการแฟชั่นจะว่ายังไง แต่ถ้าลูกค้าชื่นชอบและพึงพอใจ พวกเราก็มีความสุขที่สุดแล้ว

vanquish
●VANQUISH 2012 S/Sメインイメージ
ab:การไปเข้าร่วมงานเจแปนแฟชั่นวีค หรือโปรเจคท์ร่วมกับคุณฮิโรชิ ฟุจิวาระ กับกลุ่มศิลปินต่างๆ เนี่ยทำให้เห็นได้ว่า VANQUISH ค่อนข้างจะต่างไปจากแฟชั่นแนว109และแนวโอะนี่เค แบบเดิมๆ ช่วยเล่าเกี่ยวกับตรงนี้หน่อยได้ไหม?

อิชิคาวะ : คือถ้าไม่มีอะไรที่ทำให้ผู้คนสงสัยหรือแปลกใจ ว่า “เอ๊ะ ทำไมร่วมโปรเจคท์กับคนนี้” หรือ “เอ๊ะ ทำแบบนี้ได้ด้วยเหรอ?” อะไรแบบนี้ เราก็จะไม่เป็นที่สนใจ สมัยนี้อินเทอร์เน็ตแพร่หลายมากแล้ว เขาบอกว่าปริมาณข้อมูลที่ลูกค้าจะได้รับในแต่ละวันมากกว่าสมัยปี 1990 นับ 700 เท่าเลยนะครับ ถ้าเราจะมัวแต่มาทำอะไรเอาตามความชอบของตัวเองมันก็คงไม่สนุก ไม่น่าสนใจ เพราะฉะนั้น VANQUISH จึงเน้นการร่วมโปรเจคท์กับผู้ที่ทุกคนจะคาดไม่ถึง แบบนั้นสนุกกว่า เราเองก็สนุกด้วย ได้ทำอะไรที่ไม่เคยมีใครคิดทำมาก่อน อะไรที่เมื่อก่อนเขาบอกว่า NO เราก็จะบอกว่า YES
ab:ปกติแล้วภาพลักษณ์ของแบรนด์เนี่ย ถ้าเป็นที่จดจำของผู้คนไปแล้วครั้งหนึ่งเนี่ย มันก็จะสร้างใหม่ได้ยาก แต่ในกรณีของ VANQUISH นี่ต้องบอกว่า มีอะไรที่แปลกใหม่ท้าทายอยู่เสมอเลย

อิชิคาวะ : ผมไม่ได้ใส่ใจอะไรกับเรื่องพวกนั้นเลยครับ (หัวเราะ) เลยโดนพนักงานที่บริษัทโกรธเอาบ่อยๆ (หัวเราะ) ผมคิดว่าการที่เราให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ มันก็เหมือนกับว่าเราเป็นห่วงว่าคนอื่นๆในวงการเขาจะมองว่าเราเป็นยังไง คือไม่ได้คิดเรื่องผู้บริโภคเลย อย่างตอนงาน โตเกียวคอลเลคชั่น เราทำแบบนั้นก็เพราะว่า ต่อให้คนอื่นๆในวงการจะคิดยังไงเราก็ไม่สน แค่ผู้บริโภคตื่นเต้นและพอใจ เราก็โอเคแล้วล่ะครับ สมัยนี้ทั้ง Twitter และ Facebook แพร่หลายมากแล้ว อิทธิพลของชุมชนเหล่านี้มีมากกว่าอิทธิพลของสื่อเสียอีก การที่เราได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภค ย่อมสำคัญกว่าความคิดเห็นจากผู้คนในวงการ ต่อให้คนในวงการจะมองว่ามันเฉิ่มเชยยังไง ถ้าผู้บริโภคเขาพอใจแล้วก็ซื้อ มันก็เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับเรา คนวงการจะว่ายังไงก็ช่างครับ

ab:ตอนไปออกงานโตเกียวคอลเลคชั่น เสียงตอบรับเป็นยังไงบ้าง

อิชิคาวะ : สุดๆเลยล่ะครับ โดนต่อว่ามาเยอะมาก (หัวเราะ) แต่ผมก็ไม่สนนะ สุดท้ายงานปีนี้ก็เป็นปีที่มีคนมาเข้าร่วมงานเยอะที่สุด แถมตอนนั้นก็ทำให้เราได้ขึ้นปกนิตยสารแฟชั่นชื่อ WWD ด้วย แน่นอนว่าเราไม่ได้จ่ายเงินเพื่อจะขอขึ้นปกด้วย การที่พวกเราไปเข้าร่วมงานโตเกียวคอลเลคชั่น ทำให้มีคนในวงการบางคนที่คิดว่า “มันจบแล้วล่ะ โตเกียวคอลเลคชั่น” หรืออะไรแบบนี้ แต่ก็มีผู้บริโภคมากมายที่ชื่นชอบเรา สำหรับเราแล้วความประทับใจและเสียงตอบรับส่วนนั้นสำคัญมากกว่าครับ คนในวงการจะว่ายังไง ถ้าลูกค้าพอใจก็โอเคครับ

ab:ถ้าแนวคิดแบบนี้คือหัวใจหลักสำคัญของ VANQUISH ล่ะก็ จากนี้ไปก็คงมีโอกาสที่จะได้เห็นแฟชั่นสไตล์อื่นๆ นอกเหนือไปจากแนว “โอะนี่เค” ด้วยใช่ไหม?

อิชิคาวะ : ครับ แต่พูดจริงๆแล้วก็คือ ตัวเราเองเราก็ไม่เคยบอกว่าพวกเราทำแต่โอะนี่เคนะครับ แค่ตอนเริ่มทำบริษัท เราเริ่มจากตลาดของ “แกลโอะ” ร้านสาขาแรกก็ตั้งอยู่ใน 109 ตึกหลัก ที่ชิบุยะ แล้วก็มีนิตยสารแฟชั่นชาย Men`s egg นำเรื่องของพวกเราไปเผยแพร่ เลยทำให้พวกเราถูกมองว่าเป็นอย่างนั้น แต่เสื้อผ้าที่พวกเราทำก็คือเสื้อผ้าทั่วๆไป อย่าง แจคเก็ต เชิ้ต ยีนส์ อะไรแบบนั่นล่ะครับ แต่การที่คนมองว่า VANQUISH คือ โอะนี่เค ก็เรียกได้ว่าการตลาดของเรามาได้ถูกทางครับ ตอนแรกที่ได้รับการติดต่อให้มาเปิดร้านที่ 109 ตึกหลักที่ชิบุยะ ผมก็คิดว่านี่แหละเป็นโอกาสของเราแล้ว ผมตั้งเป้าหมายว่าจะต้องทำให้ทุกคนพูดว่า ถ้ามา 109 ตึกหลักก็ต้องมาที่ VANQUISH เราต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้ ตอนนี้ก็เลยกลายเป็นว่า พอจะมีบริษัทไหนที่ต้องการมาทำโปรเจคท์ร่วมกับ 109 ตึกหลัก เขาก็จะนึกถึง VANQUISH ของเราก่อนเลย ก็คงเรียกได้ว่ากลยุทธ์การตลาดของเราประสบความสำเร็จนะครับ

⇒การรุกสู่ตลาดต่างประเทศในภูมิภาคเอเซียในความคิดของเรียว อิชิคาวะ
Previous  |  

WHAT’S NEW

EDITORS' PICKS

  • Fukuoka Ramen Map
  • วิธีท่องเที่ยวคิวชูให้สนุกยิ่งกว่าเดิม!
  • Timeless Trip in Fukuoka ของคุณ Misako Aoki
  • Culture Watch
  • kn_fukuoka_banner_2.jpg
  • banner_pop_culture.jpg

PRESENTS

asianbeat's present campaign!
  • Okasaki Miho, Kumada Akane และ MindaRyn
  • ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง คุณ Aoyama Yoshino, คุณ Suzushiro Sayumi สำหรับ 2 ท่าน
  • Okasaki Miho, Kumada Akane และ MindaRyn
  • ◆ Winner announced! ลุ้นรับกระดาษสีพร้อมลายเซ็นจากวง Okasaki Miho คุณ Kumada Akane และคุณMindaRyn สำหรับ 2 ท่าน
  • เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ว Scarlet Bond เวอร์ชั่นภาพยนตร์
  • ◆Winner announced! ลุ้นรับของรางวัลจาก "เกิดใหม่ทั้งทีก็เป็นสไลม์ไปซะแล้ว Scarlet Bond เวอร์ชั่นภาพยนตร์" สำหรับ 3 ท่าน